Sunday, June 23, 2013

TrueStar Health : Vitamin TrueStar วิตามินอันดับ 1 จากอเมริกา

TrueStar Health : Vitamin TrueStar วิตามินอันดับ 1 จากอเมริกา


10 เหตุผลที่ต้องเลี่ยงอาหารดัดแปลงพันธุกรรม GMOs

Posted: 21 Jun 2013 05:00 PM PDT

เรื่องของพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ถกกันมายาวนาน ผู้นิยมก็จะให้เหตุผลว่า เมื่อนำวัตถุดิบที่มากมายไปเป็นอาหารก็จะแก้ปัญหาความยากคนจน และสร้างผลประโยชน์ให้แก่เกษตรกร แถมยังไม่บ่งชี้อันตรายชัดแจ้ง แล้วฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยควรจะเตรียมเหตุผลซักค้านอย่างไรดี

10 เหตุผลสำคัญในการโต้เถียง เพื่อจะเลี่ยงการใช้สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ผ่านหนังสือขายดีของ เจฟฟรีย์ สมิธ (Jeffrey Smith) จากสถาบันการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความรับผิดชอบ “ไออาร์ที” (The Institute for Responsible Technology : IRT) ไปดูกันว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านจีเอ็มโอได้แนะนำให้เราตอบโต้อย่างไรบ้าง

1. สิ่งที่ตัดแต่งพันธุกรรมไม่ดีต่อสุขภาพ

สถาบันอนามัยสิ่งแวดล้อมอเมริกัน (American Academy of Environmental Medicine : AAEM) ได้ขอให้แพทย์สั่งอาหารปลอดจีเอ็มโอให้แก่ผู้ป่วย โดยอ้างถึงการทดลองในสัตว์ที่แสดงให้เห็นว่า การบริโภคอาหารจีเอ็มทำลายอวัยวะภายใน ทำให้ระบบทางเดินอาหารและภูมิคุ้มกันบกพร่อง อีกทั้งยังเร่งอายุ และเกิดภาวะการมีบุตรยาก

นอกจากนี้ผลการศึกษาในมนุษย์ก็ยังชี้ให้เห็นว่า อาหารจีเอ็มที่บริโภคเข้าไปนั้น อาจมีวัตถุแปลกปลอมหลงเหลือไว้ในร่างกาย และจะเกิดปัญหาในระยะยาว ซึ่งเคยพบสารพิษฆ่าแมลงจากข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมในเลือดของหญิงมีครรภ์ และยังพบสารเดียวกันนี้ที่ทารกในครรภ์ของพวกเธออีกด้วย

ปัญหาสุขภาพจำนวนมาก ปรากฎเพิ่มขึ้นหลังจากเทคนิคการตัดต่อพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตได้นำมาใช้ตั้งแต่ปี 1996 หลังจากนั้น ชาวอเมริกันเกิดอาการเจ็บป่วยเรื้อรังเพิ่มขึ้นจากเดิม 7% เป็น 13% ในระยะเวลาเพียง 9 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพ้อาหารที่พุ่งสูงขึ้น รวมถึงอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น ออทิสติก ปัญหาการสืบพันธุ์ และการย่อยอาหาร

แม้ว่าจะยังไม่มีการศึกษาชี้ว่า ต้นเหตุของอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นมาจากอาหารตัดต่อพันธุกรรม แต่ทีมแพทย์จาก AAEM ก็ไม่รีรอผลสรุป พวกเขาต้องการให้เราเริ่มปกป้องตัวเอง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่เสี่ยงจะได้รับผลกระทบจากอาหารมากกว่าผู้ใหญ่

นอกจากนี้ สมาคมสาธารณสุขอเมริกัน (American Public Health Association) และ สมาคมพยาบาลอเมริกัน (American Nurses Association) ก็เป็นหนึ่งในหลายๆ กลุ่มที่ออกมาประนามการใช้จีเอ็มโอเพื่อสร้างโกรว์ธฮอร์โมนในวัว เพราะทำให้ได้นมที่มีฮอร์โมน IGF-1 มากเกินไป ซึ่งฮอร์โมน IGF-1 นี้เกี่ยวข้องกับมะเร็งในร่างกายมนุษย์

2. จีเอ็มโอทำพันธุกรรม “ปนเปื้อน” ตลอดกาล

ละอองเรณูและเมล็ดของพืชตัดต่อพันธุกรรมสามารถปลิวไปปะปนกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้ จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำความสะอาด จนไม่เกิดการปนเปื้อนในระบบดับยีน ซึ่งการแพร่พันธุ์ด้วยตัวพืชชนิดนั้นๆ จะเกิดขึ้น และมลพิษดังกล่าวจะอยู่ยาวนานทนทานกว่าภาวะโลกร้อน หรือกากนิวเคลียร์ ดังนั้นผลเสียจะเกิดขึ้นต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในอนาคต เพราะการปนเปื้อนของพืชจีเอ็ม จะส่งผลต่อการเกษตรอินทรีย์และการเกษตรกรที่ไม่ต้องการพืชจีเอ็มโอ นั่นจะกระทบถึงเศรษฐกิจโลกโดยตรง

3. การเกษตรจีเอ็มโอเพิ่มการใช้ยาฆ่าหญ้า

พืชจีเอ็มที่พัฒนาขึ้นมาส่วนใหญ่ก็เพื่อให้ทนทานต่อการใช้สารกำจัดวัชพืช อย่างเช่น มอนซานโต้ ที่จำหน่ายพืชราวน์ดอัพ เรดี (Roundup Ready crops) ซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อให้อยู่รอดจากสารฆ่าวัชพืชยี่ห้อเดียวกัน

ในช่วงปี 1996 – 2008 เกษตรกรสหรัฐฯ ฉีดสารฆ่าวัชพืชในแปลงปลูกพืชจีเอ็มเพิ่มขึ้นจากเดิมเกือบถึง 2 แสนตัน ที่เกิดการใช้มากเกินไปเช่นนี้ก็เพราะพืชจีเอ็มที่ต้านทานสารฆ่าหญ้าของราวนด์อัพ ทำให้เกษตรกรกล้าฉีดสารเหล่านี้หนักขึ้นเพื่อกำจัดวัชพืชให้หมดเกลี้ยง

การใส่สารกำจัดวัชพืชมากมายกว่าเดิม ไม่ใช่แค่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังคงตกค้างในพืชต่างๆ ดังนั้นเมื่อนำมาปรุงอาหาร สารเหล่านี้ก็ติดตามมาด้วยในจำนวนมาก ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลต่อฮอร์โมน ระบบการสืบพันธุ์ และมะเร็งตามมาในที่สุด

4. พันธุวิศวกรรมสร้างผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย

ด้วยการผสมยีนจากสายพันธุ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน โดยไม่คำนึงถึงประเภทของยีนที่นำมาใส่ในสิ่งมีชีวิตอีกชนิด รวมทั้งกระบวนการแทรกยีนเข้าแทนที่ อาจสร้างสารพิษชนิดใหม่ หรือสารก่อภูมิแพ้ สารก่อมะเร็ง และภาวะการขาดสารอาหาร

5. การกำกับดูแลของรัฐบาลหละหลวมเป็นอันตราย

รัฐบาลส่วนใหญ่เพิกเฉยต่อประเด็นความเสี่ยงด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของจีเอ็มโอ ไม่ว่าจะเป็นข้อบังคับหรือกฎหมายที่ไม่เท่าทัน นั่นอาจเป็นเพราะเหตุผลด้านการเมือง

อย่างองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (US Food and Drug Administration : FDA) ก็ไม่ได้เรียกหาผลการศึกษาทางด้านความปลอดภัยของอาหารจีเอ็ม หรือแม้แต่การบังคับให้ติดฉลาก แต่ปล่อยให้ผู้ผลิตอาหารจีเอ็มต่างๆ สามารถวางขายได้ ซึ่งทางเอฟดีเอเห็นว่า ยังไม่มีข้อมูลมากพอที่จะชี้ว่า อาหารจีเอ็มนั้นต่างจากอาหารปลอดจีเอ็ม หรืออินทรีย์อย่างไร

อย่างไรก็ดี แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ของเอฟดีเอเอง ก็ยังบอกว่า อาหารจีเอ็มนั้นสามารถก่อผลที่ไม่อาจคาดเดาได้ รวมทั้งยังยากที่จะตรวจสอบผลข้างเคียง แม้พวกเขาจะถกเถียงและศึกษาถึงผลความปลอดภัยในระยะยาว แต่ทางทำเนียบขาวมีนโยบายส่งเสริมเทคโนโลยีชีวภาพ ที่มีบริษัทพัฒนาเมล็ดพันธุ์ขนาดใหญ่หนุนหลัง จึงทำให้เอฟดีเอสนับสนุนอาหารจีเอ็ม

6. ใช้กลวิธีเดียวกับ “วิทยาศาสตร์ยาสูบ” ย้ำความปลอดภัย

บริษัท เทคโนโลยีชีวภาพบอกชาวโลกว่า ฝนเหลือง (Orange Agent), พีซีบี (PCBs) และยาฆ่าแมลง (ดีดีที) มีความปลอดภัย โดยพูดแบบผิวเผิน ใช้อุบายเป็นงานวิจัย เหมือนเช่นที่กลุ่มอุตสาหกรรมยาสูบทำ โดยตั้งกองทุนศึกษาเรื่องของจีเอ็มโอ แสดงถึงผลดี ออกแบบงานวิจัยที่หลีกเลี่ยงการค้นหาปัญหา หรือผลไม่พึงประสงค์ของการพัฒนาพืชตัดต่อพันธุกรรม ทั้งหมดเพื่อจะทำให้เราเชื่อว่า จีเอ็มโอมีความปลอดภัย

7. การวิจัยและรายงานอิสระถูกโจมตี

นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบปัญหาเกี่ยวกับการตัดแต่งพันธุกรรมได้ถูกโจมตี ขมขู่ และปฏิเสธการให้ทุน แม้แต่วารสารเนเจอร์เองก็ยอมรับว่า มีอุปสรรคขนาดใหญ่ขวางกั้นนักวิทยาศาสตร์จำนวนมาก ทั้งการใส่ร้ายป้ายสีงานวิจัย และทำให้เสียชื่อเสียง เล่นพรรคเล่นพวก ซึ่งการใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลเหล่านี้ ไม่ช่วยให้เกิดความก้าวหน้าในทางวิชาการ อีกทั้งสื่อที่จะเข้าไปเผยแพร่ปัญหาเหล่านี้ก็ยังถูกเซ็นเซอร์อีกด้วยซ้ำ

8. การตัดแต่งพันธุกรรมเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

พืชจีเอ็มและสารเคมีกำจัดวัชพืชที่เกี่ยวข้องนั้น เป็นอันตรายต่อ นก แมลง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ รวมถึงระบบนิเวศทางทะเล และสิ่งมีชีวิตในดิน การทำเช่นนี้ลดความหลากหลายทางชีวภาพ, ก่อให้เกิดมลพิษในแหล่งน้ำ และไม่ยั่งยืน

ตัวอย่างเช่น พืชจีเอ็มได้กำจัดแหล่งที่อยู่อาศัยของผีเสื้อจักรพรรดิ ซึ่งทำให้จำนวนประชากรของผีเสื้อดังกล่าวลดลง 50% ในสหรัฐฯ นอกจากนี้ สารกำจัดวัชพืชราวนด์อัพยังถูกชี้ว่า เป็นต้นเหตุให้เกิดความผิดปกติของการสืบพันธุ์สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ไม่ว่าจะเป็นตัวอ่อนตายและต่อมไร้ท่อหยุดชะงัก

ยังมีความเสียหายในอวัยวะสัตว์ ที่แม้จะมีปริมาณที่ต่ำมาก เช่น มีการพบคาโนลาตัดต่อพันธุกรรมในป่าที่นอร์ท ดาโกตา และแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมียีนทนสารฆ่าวัชพืชปนเปื้อน

9. จีเอ็มโอไม่เพิ่มผลผลิต และไม่ช่วยแก้ปัญหาปากท้อง

ในขณะที่การเกษตรยั่งยืนแบบปลอดจีเอ็มโอในประเทศกำลังพัฒนามีผลแน่ชัดว่า ผลผลิตเพิ่มขึ้น 79% และสูงกว่าการปลูกพืชจีเอ็ม ซึ่งเป็นข้อมูลจากกลุ่มสหภาพนักวิทยาศาสตร์ผู้มีความห่วงใยต่อสังคม (Union of Concerned Scientists) เมื่อปี 2009 ที่ได้รายงานถึงความล้มเหลวของผลผลิตพืชจีเอ็ม

นอกจากนี้ รายงานของกลุ่มการประเมินความรู้ทางการเกษตร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาสากล (International Assessment of Agricultural Knowledge, Science and Technology for Development : IAASTD) ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์ร่วมกันเขียนกว่า 400 คน จากการสนับสนุนของรัฐบาลอีก 58 ประเทศ ยืนยันว่า พืชจีเอ็มมีผลผลิตสูงในบางกรณี และในบางกรณีก็มีผลผลิตลดลง

รายงานฉบับดังกล่าว ระบุว่า การประเมินเทคโนโลยีการตัดต่อพันธุกรรมนั้นล่าช้า ยังขาดเรื่องการพัฒนาข้อมูล และความขัดแย้ง รวมถึงความผลประโยชน์ที่ไม่ชัดเจน และความเสียหายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยในรายงานฉบับนั้น เชื่อว่า เทคโนโลยีจีเอ็มโอในปัจจุบัน ยังไม่ใช่ตัวช่วยแก้ลดปัญหาความหิวโหยและขาดอาหาร รวมถึงยังไม่สามารถปรับปรุงสารอาหาร สุขภาพ และชีวิตในชนบทได้ อีกทั้งไม่ได้อำนวยความสะดวกให้แก่สังคม และไม่ได้สร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม

ในทางตรงกันข้าม จีเอ็มโอใช้เงินและทรัพยากรมากยิ่ขึ้น เพื่อสร้างให้เห็นว่าเทคโนโลยีดังกล่าว ปลอดภัย เชื่อถือได้ และมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้

10. จีเอ็มโอไม่มีประโยขน์ต่อผู้บริโภค

เราสามารถหลีกเลี่ยงจีเอ็มโอได้ โดยการปฏิเสธ ผลักดันให้ออกไปจากห่วงโซ่อาหาร เพราะจีเอ็มโอไม่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภค แม้ว่าจะมีการปฏิเสธอยู่น้อยนิด แต่ในที่สุดส่วนผสมที่เป็นจีเอ็มในท้องตลาดก็จะกลายเป็นสิ่งที่ผิด บริษัทอาหารก็จะนำออกไป

ในยุโรป เมื่อปี 1999 หลังจากมีการตีพิมพ์งานวิจัยถึงความผิดพลาดของจีเอ็มโอ ก็ส่งผลให้ประชาชนผู้บริโภค ตื่นตัวกับอันตรายดังกล่าว ขณะที่ในสหรัฐฯ เมื่อมีกรณีการใช้โกรว์ทฮอร์โมนตัดต่อพันธุกรรมในวัว ก็ส่งผลให้เกิดการผลักดันให้เลิกใช้วัวประเภทนี้ผลิตนม โดยมีวอลมาร์ท สตาร์บักส์ ดานนอน และบริษัทผลิตนมส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ ร่วมกันผลักดัน

เจฟฟรีย์ สมิท เป็นผู้อำนวยการสถาบันการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความรับผิดชอบ และเป็นหนึ่งในผู้นำหลักในการต้านอาหารจีเอ็ม หนังสือของเขา “Seed of Deception” (เมล็ดพันธุ์แห่งการหลอกลวง) จัดอยู่ในอันดับหนึ่งของหนังสือที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ที่สำคัญของประชาชน และแม้กระทั่งการออกกฎหมาย และเขายังได้เขียน “Genetic Roulette” สารคดีความเสี่ยงของอาหารตัดต่อพันธุกรรมต่อสุขภาพอีกด้วย

ที่มา : เว็บไซต์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์

Tuesday, June 11, 2013

TrueStar Health : Vitamin TrueStar วิตามินอันดับ 1 จากอเมริกา

TrueStar Health : Vitamin TrueStar วิตามินอันดับ 1 จากอเมริกา


9 ส่วนประกอบในอาหาร ที่นักโภชนาการร้องยี้

Posted: 31 May 2013 10:00 AM PDT

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

อาหารที่เราเข้าใจว่าอุดมไปด้วยสารอาหารและประโยชน์อย่างครบถ้วน บางทีอาจจะไม่ได้ดีต่อสุขภาพอย่างที่เราคิด อย่างเช่นข้อมูลที่เราจะมาบอกกล่าวให้ได้รู้กันในวันนี้ ซึ่งอาจทำให้ทุกคนตกใจกับความรู้ใหม่ที่จะได้รับกันเลยก็เป็นได้

1. โพแทสเซียม เบนโซเอท (Potassium Benzoate)

หลายคนเลือกที่จะดื่มเครื่องดื่มประเภทไดเอตโซดา เพื่อหวังจะช่วยลดแคลอรี่ให้ร่างกายได้ไม่มากก็น้อย แต่แทนที่จะได้รับผลดีต่อสุขภาพอย่างที่ตั้งใจ อาจจะได้รับโพแทสเซียม เบนโซเอท ซึ่งมักจะเป็นส่วนประกอบหนึ่งในเครื่องดื่มประเภทซอฟต์ดริงก์ เช่น น้ำผลไม้แทน เหตุผลที่เราควรเลี่ยงส่วนประกอบนี้ก็เพราะ หากโพแทสเซียม เบนโซเอท ได้เจอเข้ากับวิตามินซีเมื่อไร จะทำปฏิกริยาเคมีและกลายร่างเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่งได้ทันที

2. ข้าวโพด

ข้าวโพดที่ผ่านการดัดแปลงเป็นแป้งข้าวโพด น้ำมันข้าวโพด น้ำตาลเด็กซ์โตรส (dextrose) และมอลโตเด็กซ์ตริน (maltodextrin) จะอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 6 เหมือนจะดูดีใช่ไหมคะ แต่จริง ๆ แล้วอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดแผลอักเสบ, มะเร็ง และโรคหัวใจได้ หากร่างกายได้รับในปริมาณที่มากเกินไป

นักโภชนาการจึงแนะนำว่า เราควรให้ร่างกายได้รับโอเมก้า 6 และโอเมก้า 3 ในสัดส่วน 1 ต่อ 1 เพื่อปรับระดับกรดไขมันดีที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวันให้เหมาะสม เพราะฉะนั้นหากคุณรู้สึกว่าร่างกายได้รับโอเมก้า 6 มากเกินไปจากการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบจำพวกมาการีน น้ำมันพืช และถั่วเหลือง ก็อย่าลืมเติมโอเมก้า 3 ให้ร่างกายด้วยการรับประทานปลาทู ปลากระพง ปลาแซลมอน ไข่ โยเกิร์ต เพื่อปรับสมดุลให้ร่างกายด้วย

3. ถั่วเหลือง

ถั่วเหลืองจัดได้ว่าเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงเทียบเท่ากับเนื้อสัตว์ มีประโยชน์และราคาก็แสนถูก แต่ถั่วเหลืองก็ไม่ได้มีแต่ข้อดีเสมอไป เพราะถั่วเหลืองที่ผ่านกระบวนการสกัดมาเป็นน้ำมันถั่วเหลือง โปรตีนถั่วเหลือง และถั่วเหลืองสกัดในรูปอื่น ๆ ก็มีส่วนทำให้การเจริญพันธุ์ลดลง สมรรถภาพทางเพศลดลง เร่งการเจริญเติบโตก่อนวัยอันควรในวัยเด็ก อีกทั้งยังมีผลกระทบกับฮอร์โมนเอสโตรเจนของผู้หญิงอีกด้วย นอกจากนี้ถั่วเหลืองยังเป็นสาเหตุให้ระดับโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ในร่างกายของเราปรวนแปร นักโภชนาการจึงแนะนำให้เลือกรับโปรตีนจากถั่วชนิดอื่น ๆ แทนจะปลอดภัยกว่าค่ะ

4. BHA

BHA มีคุณสมบัติช่วยไม่ให้อาหารเหม็นหืน ส่วนมากจึงถูกนำไปใช้ในอาหารที่มีไขมันหรือใช้น้ำมันเป็นส่วนผสม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ประเภทขนมอบ อาหารทอดต่าง ๆ มาการีน เนยแข็ง ซึ่งหากร่างกายเราได้รับสารนี้มากเกินไป ก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งมากขึ้น นั่นเพราะ BHA เป็นสารก่อมะเร็งอีกตัวหนึ่งเช่นกันค่ะ

5. น้ำมันปาล์ม (Fractionated Palm Kernel Oil)

น้ำมันปาล์มที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของเราคือ น้ำมันปาล์มที่กลั่นมาจากเนื้อปาล์ม ที่ถูกนำไปใช้เคลือบบนหน้าช็อกโกแลตและลูกอมไม่ให้ละลาย อันตรายของมันก็คือ มีคอเลสเตอรอลชนิด LDL ซึ่งเป็นชนิดที่อันตรายต่อสุขภาพ หากรับเข้าร่างกายมาก ๆ ก็เสี่ยงจะเป็นโรคไขมันในเลือดสูงและโรคอ้วนได้

6. ผงชูรส Monosodium Glutamate (Msg)

แม้จะรู้ทั้งรู้ว่าหากรับประทานเจ้าผงชูรสมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการผมร่วง รู้สึกอยากอาหารมากกว่าปกติ และยังเสี่ยงเป็นโรคไมเกรนได้ แต่การใช้ชีวิตในสังคมสมัยนี้ก็ทำให้เราไม่มีเวลามากพอที่จะทำอาหารด้วยตัวเอง เราจึงต้องยอมรับสภาพไปวัน ๆ เหมือนเป็นชะตากรรมอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นความซื่อสัตย์ของผู้ประกอบการและร้านอาหารที่กล้ายอมรับว่าใช้ผงชูรสเป็นส่วนประกอบหนึ่งในอาหารจึงมีความสำคัญ เพื่อให้คนที่รักสุขภาพจริง ๆ ได้รู้และเลี่ยงได้ และเพื่อความปลอดภัยสำหรับใครที่แพ้เจ้าผงชูรสนี้ด้วยเช่นกัน

7. กลิ่นสังเคราะห์

สารสังเคราะห์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นสังเคราะห์ รสชาติสังเคราะห์ หรืออะไรที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติย่อมไม่ให้คุณค่าทางสารอาหารใด ๆ แก่ร่างกายเราเลย เพราะฉะนั้นหากเลี่ยงได้ก็จะดีกว่าค่ะ อย่างเช่น ลดการดื่มน้ำอัดลมและน้ำผลไม้กระป๋อง แล้วหันมารับประทานน้ำผลไม้ที่คั้นสด ๆ หรือน้ำสมุนไพรแทน ซึ่งจะได้รสชาติที่ดีกว่าและยังได้รับคุณค่าทางสารอาหารมากกว่ากันเยอะเลย

8. โซเดียมไนเตรทและไนไตรท์ (Sodium Nitrate And Nitrite)

แม้โซเดียมไนเตรทและไนไตรท์จะช่วยถนอมอาหารไม่ให้เสีย และช่วยคงสภาพสีของอาหารให้ดูสดอยู่เสมอ ซึ่งส่วนมากจะถูกนำไปใช้ในอาหารประเภท ไส้กรอก เบคอน กุนเชียง ปลาเค็ม แหนม เป็นต้น แต่ส่วนประกอบชนิดนี้มีส่วนช่วยให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโต โดยจากผลวิจัยบอกว่า ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีโซเดียมไนเตรทและไนไตรท์มากกว่าสัปดาห์ละครั้ง จะมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคิเมียมากกว่าคนที่ไม่ค่อยได้รับประทานอาหารประเภทนี้เลย

9. แป้งสาลีเติมสารอาหาร (Enriched Wheat)

ถ้าบนถุงขนมปังที่คุณถืออยู่เขียนว่าโฮลเกรน 100% อย่าเพิ่งรีบตัดสินใจซื้อค่ะ ให้คุณขยับสายตาอีกนิดแล้วอ่านส่วนประกอบของขนมปังก่อน หากพบว่าส่วนประกอบหลักเป็นแป้งสาลีเติมสารอาหาร (Enriched Wheat) แล้วล่ะก็ ให้คุณวางถุงขนมปังนั้นไว้บนชั้นดังเดิม และเลือกหาขนมปังที่มีส่วนประกอบหลักเป็นแป้งโฮลวีทแทน เพราะแป้งสาลีเติมสารอาหารทำมาจากธัญพืชที่ผ่านการขัดสีและผ่านกระบวนการ ซึ่งเป็นการนำเอาสารอาหารที่มีประโยชน์ออกไปเรียบร้อยแล้ว

เห็นข้อมูลแบบนี้แล้ว ต้องยอมรับว่า อาหารบางอย่างก็เลี่ยงยากเหลือเกิน เพราะฉะนั้นการรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ น่าจะเป็นวิธีที่จะช่วยให้ร่างกายของเราแข็งแรงพอที่จะสู้กับโรคภัยทั้งหลายได้อย่างดีค่ะ

Sunday, June 9, 2013

TrueStar Health : Vitamin TrueStar วิตามินอันดับ 1 จากอเมริกา

TrueStar Health : Vitamin TrueStar วิตามินอันดับ 1 จากอเมริกา


มีงี้ด้วย! โรคอ้วนระบาด เหตุหญิงไม่ออกกำลังกาย เพราะกลัวผมเสียทรง

Posted: 10 Apr 2013 01:53 AM PDT

สาวมะกัน-แอฟริกันเลือกทรงผม ไม่ยอมเสียเหงื่อส่งผลอ้วนกระฉูด (ไทยโพสต์)

นักวิจัยชาวแอฟริกัน 2 ใน 5 คนเผยล่าสุดว่า ผู้หญิงชาวอเมริกันมักหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย เพราะความกังวลเกี่ยวกับทรงผม หรือกลัวว่าผมของพวกเธอนั้นจะเสียทรง ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวได้กลายเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โรคอ้วนกำลังระบาดในคุณสาว ๆ เมืองมะกัน

ดร.เอ็มมี แมคไมเคิล นักวิจัยอาวุโสและแพทย์ผิวหนังจากโรงเรียนแพทย์ในมหาวิทยาลัย Wake Forest ที่อยู่ทางตอนเหนือของรัฐแคโรไลนา กล่าวว่า “ไม่ใช่แค่ผู้หญิงแอฟริกันเท่านั้น แต่ผู้หญิงในอเมริกาก็ประสบกับปัญหานี้เช่นเดียวกัน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคุณสาว ๆ ทั้งสองสัญชาตินี้เบื่อหน่ายกับการที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลเส้นผมหรือจัดทรงผมของพวกเธอ รวมถึงเหงื่อที่ถูกขับออกจากร่างกายในระหว่างที่พวกเธอออกกำลังกาย ก็ถือเป็นอีกสาเหตุที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของประชากรในเมืองที่สุดแสนวิไลนี้”

ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนังกล่าวต่อว่า “จากผลสำรวจทั้งผู้หญิงชาวอเมริกาและผู้หญิงชาวแอฟริกัน ในจำนวน 103 คนที่เข้ามารับบริการจากคลินิกในมหาวิทยาลัย Wake Forest ในช่วงเดือนตุลาคม ปี 2007 พบว่า “มีผู้หญิงมากกว่าครึ่งออกกำลังกายน้อยกว่า 75 นาทีต่อสัปดาห์ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวถือว่าต่ำกว่ามาตรฐาน ที่ทางกรมอนามัยและบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้กำหนดไว้ เพราะอย่างน้อยต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอไม่ต่ำกว่าอาทิตย์ละ 150 นาที”

นั่นเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นว่า ผู้หญิงในสหรัฐอเมริกาออกกำลังกายลดน้อยลง ซึ่งต่างจากก่อนหน้านี้หรือในปี 2007 ที่ทางศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคได้สำรวจพบว่า ผู้หญิงชาวอเมริกันออกกำลังมากกว่า 150 นาทีต่อสัปดาห์ และจากการศึกษาใหม่ที่น่าตกใจนั้นได้พบว่า ผู้หญิงชาวอเมริกัน 1 ใน 4 ไม่คิดที่จะออกกำลังกาย และไม่ใช่แค่สาเหตุหลัก อย่างเช่น การเสียเวลา หรือเสียค่าใช้จ่ายจำนวนสูงในการจัดแต่งทรงผม แต่การที่พวกเธอปฏิเสธการอัพแอนด์ดาวน์นั้นเป็นเพราะ “เหงื่อ” จากการออกกำลังกายที่ทำให้ผมของพวกเธอเสียทรงนั่นเอง

สอดคล้องกับเช่นเดียวกับโรเชล มอสลีย์ เจ้าของร้านเสริมสวยที่ตั้งอยู่ในเขตฮาร์เล็มในเมืองนิวยอร์ก ที่ได้เผยผ่านสำนักข่าวรอยเตอร์ เกี่ยวกับสุขภาพของคุณสาว ๆ ชาวอเมริกันและแอฟริกันว่า “โดยปกติลูกค้าจะมาใช้บริการที่ร้านเพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อรับบริการยืดผม ในราคา 40 เหรียญฯ ทั้งนี้เนื่องจากลูกค้าไม่ต้องการที่จะล้างหรือสระผมเกินอาทิตย์ละ 1 ครั้ง เพราะกังวลเรื่องทรงผมของพวกเธอจะเสียทรงโดยใช่เหตุ ขณะเดียวกันพวกเธอก็มักจะหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่นำไปสู่การเสียเหงื่อ ซึ่งหลายคนก็อาจสงสัยว่าทำไมคุณสาว ๆ เหล่านี้ไม่เลือกดูแลสุขภาพเส้นผมโดยการตัดผมให้สั้นลง”

อย่างไรก็ตาม แม้คุณสาว ๆ หลายคนมักจะบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่กล้าออกกำลังกายเพราะกลัวผมเสียทรง โดยเฉพาะกฎเกณฑ์ที่เคยระบุไว้ว่าอย่างน้อยต้อง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่มีข้อยกเว้นในกรณีที่ทำให้พวกเธอออกกำลังกายได้โดยไม่ต้องพะวงว่าผมจะเสียทรง เช่น เกิดปัญหาสุขภาพกับหนังศีรษะ หรือมีอาการคันจากรังแค และหน้าที่การงานที่ทำให้พวกเลือกที่จะต้องตัดผมหรือทำผมบ่อย ๆ อยู่แล้ว”

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ไทยโพสต์

Saturday, June 1, 2013

TrueStar Health : Vitamin TrueStar วิตามินอันดับ 1 จากอเมริกา

TrueStar Health : Vitamin TrueStar วิตามินอันดับ 1 จากอเมริกา


9 ส่วนประกอบในอาหาร ที่นักโภชนาการร้องยี้

Posted: 31 May 2013 10:00 AM PDT

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

อาหารที่เราเข้าใจว่าอุดมไปด้วยสารอาหารและประโยชน์อย่างครบถ้วน บางทีอาจจะไม่ได้ดีต่อสุขภาพอย่างที่เราคิด อย่างเช่นข้อมูลที่เราจะมาบอกกล่าวให้ได้รู้กันในวันนี้ ซึ่งอาจทำให้ทุกคนตกใจกับความรู้ใหม่ที่จะได้รับกันเลยก็เป็นได้

1. โพแทสเซียม เบนโซเอท (Potassium Benzoate)

หลายคนเลือกที่จะดื่มเครื่องดื่มประเภทไดเอตโซดา เพื่อหวังจะช่วยลดแคลอรี่ให้ร่างกายได้ไม่มากก็น้อย แต่แทนที่จะได้รับผลดีต่อสุขภาพอย่างที่ตั้งใจ อาจจะได้รับโพแทสเซียม เบนโซเอท ซึ่งมักจะเป็นส่วนประกอบหนึ่งในเครื่องดื่มประเภทซอฟต์ดริงก์ เช่น น้ำผลไม้แทน เหตุผลที่เราควรเลี่ยงส่วนประกอบนี้ก็เพราะ หากโพแทสเซียม เบนโซเอท ได้เจอเข้ากับวิตามินซีเมื่อไร จะทำปฏิกริยาเคมีและกลายร่างเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่งได้ทันที

2. ข้าวโพด

ข้าวโพดที่ผ่านการดัดแปลงเป็นแป้งข้าวโพด น้ำมันข้าวโพด น้ำตาลเด็กซ์โตรส (dextrose) และมอลโตเด็กซ์ตริน (maltodextrin) จะอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 6 เหมือนจะดูดีใช่ไหมคะ แต่จริง ๆ แล้วอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดแผลอักเสบ, มะเร็ง และโรคหัวใจได้ หากร่างกายได้รับในปริมาณที่มากเกินไป

นักโภชนาการจึงแนะนำว่า เราควรให้ร่างกายได้รับโอเมก้า 6 และโอเมก้า 3 ในสัดส่วน 1 ต่อ 1 เพื่อปรับระดับกรดไขมันดีที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวันให้เหมาะสม เพราะฉะนั้นหากคุณรู้สึกว่าร่างกายได้รับโอเมก้า 6 มากเกินไปจากการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบจำพวกมาการีน น้ำมันพืช และถั่วเหลือง ก็อย่าลืมเติมโอเมก้า 3 ให้ร่างกายด้วยการรับประทานปลาทู ปลากระพง ปลาแซลมอน ไข่ โยเกิร์ต เพื่อปรับสมดุลให้ร่างกายด้วย

3. ถั่วเหลือง

ถั่วเหลืองจัดได้ว่าเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงเทียบเท่ากับเนื้อสัตว์ มีประโยชน์และราคาก็แสนถูก แต่ถั่วเหลืองก็ไม่ได้มีแต่ข้อดีเสมอไป เพราะถั่วเหลืองที่ผ่านกระบวนการสกัดมาเป็นน้ำมันถั่วเหลือง โปรตีนถั่วเหลือง และถั่วเหลืองสกัดในรูปอื่น ๆ ก็มีส่วนทำให้การเจริญพันธุ์ลดลง สมรรถภาพทางเพศลดลง เร่งการเจริญเติบโตก่อนวัยอันควรในวัยเด็ก อีกทั้งยังมีผลกระทบกับฮอร์โมนเอสโตรเจนของผู้หญิงอีกด้วย นอกจากนี้ถั่วเหลืองยังเป็นสาเหตุให้ระดับโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ในร่างกายของเราปรวนแปร นักโภชนาการจึงแนะนำให้เลือกรับโปรตีนจากถั่วชนิดอื่น ๆ แทนจะปลอดภัยกว่าค่ะ

4. BHA

BHA มีคุณสมบัติช่วยไม่ให้อาหารเหม็นหืน ส่วนมากจึงถูกนำไปใช้ในอาหารที่มีไขมันหรือใช้น้ำมันเป็นส่วนผสม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ประเภทขนมอบ อาหารทอดต่าง ๆ มาการีน เนยแข็ง ซึ่งหากร่างกายเราได้รับสารนี้มากเกินไป ก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งมากขึ้น นั่นเพราะ BHA เป็นสารก่อมะเร็งอีกตัวหนึ่งเช่นกันค่ะ

5. น้ำมันปาล์ม (Fractionated Palm Kernel Oil)

น้ำมันปาล์มที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของเราคือ น้ำมันปาล์มที่กลั่นมาจากเนื้อปาล์ม ที่ถูกนำไปใช้เคลือบบนหน้าช็อกโกแลตและลูกอมไม่ให้ละลาย อันตรายของมันก็คือ มีคอเลสเตอรอลชนิด LDL ซึ่งเป็นชนิดที่อันตรายต่อสุขภาพ หากรับเข้าร่างกายมาก ๆ ก็เสี่ยงจะเป็นโรคไขมันในเลือดสูงและโรคอ้วนได้

6. ผงชูรส Monosodium Glutamate (Msg)

แม้จะรู้ทั้งรู้ว่าหากรับประทานเจ้าผงชูรสมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการผมร่วง รู้สึกอยากอาหารมากกว่าปกติ และยังเสี่ยงเป็นโรคไมเกรนได้ แต่การใช้ชีวิตในสังคมสมัยนี้ก็ทำให้เราไม่มีเวลามากพอที่จะทำอาหารด้วยตัวเอง เราจึงต้องยอมรับสภาพไปวัน ๆ เหมือนเป็นชะตากรรมอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นความซื่อสัตย์ของผู้ประกอบการและร้านอาหารที่กล้ายอมรับว่าใช้ผงชูรสเป็นส่วนประกอบหนึ่งในอาหารจึงมีความสำคัญ เพื่อให้คนที่รักสุขภาพจริง ๆ ได้รู้และเลี่ยงได้ และเพื่อความปลอดภัยสำหรับใครที่แพ้เจ้าผงชูรสนี้ด้วยเช่นกัน

7. กลิ่นสังเคราะห์

สารสังเคราะห์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นสังเคราะห์ รสชาติสังเคราะห์ หรืออะไรที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติย่อมไม่ให้คุณค่าทางสารอาหารใด ๆ แก่ร่างกายเราเลย เพราะฉะนั้นหากเลี่ยงได้ก็จะดีกว่าค่ะ อย่างเช่น ลดการดื่มน้ำอัดลมและน้ำผลไม้กระป๋อง แล้วหันมารับประทานน้ำผลไม้ที่คั้นสด ๆ หรือน้ำสมุนไพรแทน ซึ่งจะได้รสชาติที่ดีกว่าและยังได้รับคุณค่าทางสารอาหารมากกว่ากันเยอะเลย

8. โซเดียมไนเตรทและไนไตรท์ (Sodium Nitrate And Nitrite)

แม้โซเดียมไนเตรทและไนไตรท์จะช่วยถนอมอาหารไม่ให้เสีย และช่วยคงสภาพสีของอาหารให้ดูสดอยู่เสมอ ซึ่งส่วนมากจะถูกนำไปใช้ในอาหารประเภท ไส้กรอก เบคอน กุนเชียง ปลาเค็ม แหนม เป็นต้น แต่ส่วนประกอบชนิดนี้มีส่วนช่วยให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโต โดยจากผลวิจัยบอกว่า ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีโซเดียมไนเตรทและไนไตรท์มากกว่าสัปดาห์ละครั้ง จะมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคิเมียมากกว่าคนที่ไม่ค่อยได้รับประทานอาหารประเภทนี้เลย

9. แป้งสาลีเติมสารอาหาร (Enriched Wheat)

ถ้าบนถุงขนมปังที่คุณถืออยู่เขียนว่าโฮลเกรน 100% อย่าเพิ่งรีบตัดสินใจซื้อค่ะ ให้คุณขยับสายตาอีกนิดแล้วอ่านส่วนประกอบของขนมปังก่อน หากพบว่าส่วนประกอบหลักเป็นแป้งสาลีเติมสารอาหาร (Enriched Wheat) แล้วล่ะก็ ให้คุณวางถุงขนมปังนั้นไว้บนชั้นดังเดิม และเลือกหาขนมปังที่มีส่วนประกอบหลักเป็นแป้งโฮลวีทแทน เพราะแป้งสาลีเติมสารอาหารทำมาจากธัญพืชที่ผ่านการขัดสีและผ่านกระบวนการ ซึ่งเป็นการนำเอาสารอาหารที่มีประโยชน์ออกไปเรียบร้อยแล้ว

เห็นข้อมูลแบบนี้แล้ว ต้องยอมรับว่า อาหารบางอย่างก็เลี่ยงยากเหลือเกิน เพราะฉะนั้นการรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ น่าจะเป็นวิธีที่จะช่วยให้ร่างกายของเราแข็งแรงพอที่จะสู้กับโรคภัยทั้งหลายได้อย่างดีค่ะ

Tuesday, May 28, 2013

TrueStar Health : Vitamin TrueStar วิตามินอันดับ 1 จากอเมริกา

TrueStar Health : Vitamin TrueStar วิตามินอันดับ 1 จากอเมริกา


ยาลดความอ้วน…ทางลัดความผอมที่อันตราย!!

Posted: 27 May 2013 05:00 PM PDT

ยาลดความอ้วน…ทางลัดความผอมที่อันตราย!! (Lisa)

สิ่งแรกที่เราต้องเกริ่นกันก่อน คือ “โรคอ้วน” หรือ “ความอ้วน” เป็นสิ่งที่ต้องใช้การรักษาในระยะยาวเพื่อให้น้ำหนักลดและคงที่ไว้ เช่นเดียวกับในโรคเรื้อรังอื่น ๆ เช่น เบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง การใช้ยาตามที่แพทย์สั่งอาจจะเหมาะสำหรับคนบางกลุ่ม ซึ่งในขณะที่ผลข้างเคียงจากการใช้ยาเหล่านี้จะค่อนข้างน้อย แต่ก็เคยมีรายงานอาการแทรกซ้อนอันตรายในภายหลัง ที่ต้องทราบก็คือ ยาพวกนี้ไม่ใช่ทางแก้สำหรับโรคอ้วนทุกประเภท การใช้ยาลดความอ้วนควรจะควบคู่ไปกับการออกกำลังและการเปลี่ยนอาหารการกิน เพื่อให้การลดน้ำหนักนั้นประสบความสำเร็จในระยะยาว

เมื่อไหร่ที่คุณจะต้องการยาลดความอ้วน

เมื่อคุณมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป

เมื่อคุณมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ตั้งแต่ 27 ขึ้นไป แต่มีอาการของโรคอ้วน เช่น เบาหวาน หรือความดันโลหิตสูงร่วมด้วย

รู้จักยาลดความอ้วน

ฤทธิ์ของยาลดความอ้วนประเภทหนึ่ง ก็คือ “กดความอยากอาหาร” ยาเหล่านี้จะมาในรูปของยาเม็ดหรือแคปซูล ซึ่งคุณหมอจะเป็นผู้สั่ง ที่พบได้มากคือ Phentermine จะช่วยลดน้ำหนักโดยการหลอกร่างกายให้เชื่อว่าไม่มีความหิว หรือหลอกว่าอิ่มแล้วด้วยการเพิ่มเซโรโทนิน หรือคาเทโคลามิน สารในสมองซึ่งส่งผลกระทบกับอารมณ์และความอยากอาหาร

อีกประเภทหนึ่งก็คือตัวยาซึ่งจะไปยับยั้งการดูดซึมไขมัน หรือ Orlistat ซึ่งจะทำงานโดยการหยุดยั้งประมาณ 30% ของไขมันทั้งหมดที่เรากินเข้าไปไม่ให้มีการดูดซึมโดยร่างกาย และขับออกไปพร้อมกับอุจจาระ ตัวยาออร์ลิสแตท (ในชื่อการค้าคือ Xenical) นับเป็นยาชนิดเดียวที่ทาง FDA สหรัฐฯ อนุญาตให้ใช้กับการลดน้ำหนักระยะยาว แต่ก็ยังมีการห้ามไม่ให้ใช้นานเกินสองปี

โดยทั่วไปแล้ว ออร์ลิสแตตจะค่อนข้างใช้ได้ผล ทำให้เกิดการลดน้ำหนักประมาณ 12-13 ปอนด์ ภายในระยะเวลาหนึ่งปี หากต้องการจะลดมากกว่านั้นต้องคู่กับการลดน้ำหนักโดยไม่ใช้ยาไปด้วย ส่วนใหญ่แล้วน้ำหนักจะลดได้ภายใน 6 เดือนแรก

ยาลดความอ้วน

ความเสี่ยงของยาลดความอ้วน

ในระยะสั้น สำหรับคนที่เป็นโรคอ้วนแล้ว ยาเหล่านี้จะให้ผลดีต่อสุขภาพ แต่หากใช้เป็นระยะยาวแล้วควรสอบถามแพทย์ถึงความเสี่ยงต่อไปนี้

ติดยา ในปัจจุบัน ยาหลายชนิดยกเว้น Xenical เป็น “สารควบคุม” หมายความว่า แพทย์จำเป็นจะต้องทำตามขั้นตอนบางประการหากจะจ่ายยาให้คุณ เพราะยาตัวนั้นอาจเสพติดได้

ดื้อยา คนส่วนใหญ่มักจะลดน้ำหนักได้ภายใน 6 เดือนแรก ทำให้แพทย์บางคนเชื่อว่าอาจเป็นคนไข้ดื้อยา อย่างไรก็ดี ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นเพราะดื้อยา หรือเพราะยาถึงขีดจำกัดแล้วต่างหาก

ผลข้างเคียงที่ต้องเตรียมตัวรับ

ผลข้างเคียงส่วนใหญ่ของยาลดความอ้วนนั้นค่อนข้างน้อย และมักจะดีขึ้นเมื่อร่างกายของคุณปรับตัวกับยาได้ โดยยาประเภทกดความอยากอาหาร จะมีผลข้างเคียงคือ

กระตุ้นการเต้นของหัวใจ

เพิ่มความดันโลหิต

ท้องผูก

นอนไม่หลับ

คอแห้งอย่างมาก ปากแห้ง

มึนงง ปวดศีรษะ

วิตกกังวล

คัดจมูก

สำหรับยา Orlistat นั้น อาจมีผลข้างเคียง อย่างเช่น ผายลมบ่อย อุจจาระเป็นมัน ถ่ายบ่อย หรือไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ ผลข้างเคียงเหล่านี้มักจะชั่วคราวเท่านั้นและมักจะหายเอง แต่ก็หนักขึ้นได้เช่นกันถ้าคุณกินอาหารไขมันสูง และเพราะยานี้จะลดการดูดซึมไขมัน จึงลดการดูดซึมวิตามินซึ่งละลายในไขมันด้วย ทำให้คุณขาดวิตามินบางประเภทได้

และเนื่องจากยาเหล่านี้ไม่ได้รับคำแนะนำให้ใช้ในระยะยาว จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่ใครก็ตามซึ่งพยายามจะลดน้ำหนักควรจะเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ เปลี่ยนนิสัยการกิน และออกกำลังให้มากขึ้นในขณะที่กินยานั้น

เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย

คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

lisa

Wednesday, May 8, 2013

TrueStar Health : Vitamin TrueStar วิตามินอันดับ 1 จากอเมริกา

TrueStar Health : Vitamin TrueStar วิตามินอันดับ 1 จากอเมริกา


ไขข้อสงสัย ทำไมใส่บรานอนแล้วจึงเสี่ยงมะเร็งเต้านม

Posted: 08 May 2013 04:00 AM PDT

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

เคยได้ยินไหมที่สาว ๆ เตือนกันเองว่า “ไม่ต้องใส่บราหรือเสื้อชั้นในเวลานอน เพราะเดี๋ยวจะทำให้เป็นมะเร็งเต้านม” แล้วคุณรู้ไหมคะว่าทำไมการใส่เสื้อชั้นในตอนนอนถึงทำให้เป็นมะเร็งเต้านมได้ วันนี้กระปุกดอทคอมมาไขความสงสัยให้ได้ทราบกันค่ะ

ในปี 1995 ได้มีหนังสือเล่มหนึ่งตีพิมพ์ออกมาว่าด้วยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการใส่บรากับความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านม หนังสือเล่มนั้นชื่อว่า “Dressed to Kill” โดยสองนักวิจัยชาวอเมริกัน ซิดนีย์ รอส ซิงเกอร์ และ โซม่า กริสมายเจอร์ กับผลการวิจัยที่สรุปออกมาอย่างน่าตกใจว่า ผู้หญิงที่ใส่บรานานเกินวันละ 12 ชั่วโมง มีความเสี่ยงที่จะพัฒนาไปสู่โรคมะเร็งเต้านมสูงกว่าผู้หญิงกลุ่มที่ไม่นิยมใส่เสื้อชั้นในนาน ๆ

งานวิจัยของทั้งสอง ได้ทำการสำรวจจากหญิงอเมริกันราว 4,700 คน ซึ่งครึ่งหนึ่งในกลุ่มนั้นเป็นโรคมะเร็งเต้านม หลังจากได้สอบถามประวัติและพฤติกรรมการใส่เสื้อชั้นในจากคนทั้งสองกลุ่มแล้ว พบว่าสิ่งที่กลุ่มผู้เป็นโรคมะเร็งเต้านมมีเหมือน ๆ กัน คือ ใส่เสื้อชั้นในที่แน่นกระชับ และใส่เป็นจำนวนชั่วโมงที่ยาวนานถึงขนาดใส่แม้กระทั่งเวลานอน อันต่างจากพฤติกรรมของหญิงกลุ่มที่ไม่เป็นมะเร็งเต้านมเป็นอย่างมาก

แล้วการใส่เสื้อชั้นในด้วยชั่วโมงที่ยาวนาน มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องต่อการเป็นมะเร็งเต้านมอย่างไร? หนังสือเล่มนี้ได้อธิบายไว้ว่า การใส่เสื้อชั้นในที่ยาวนาน ทำให้หน้าอกถูกบีบรัดกดทับอยู่ตลอด จนต่อมน้ำเหลืองไม่สามารถระบายของเสียที่และสิ่งแปลกปลอมที่ดักจับได้ออกจากร่างกายไป โดยต่อมน้ำเหลืองที่ทำหน้าที่ดักจับและทำลายเชื้อโรค ซึ่งมีทั้งแบคทีเรีย ไวรัส อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกายตามธรรมชาติ และสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ ที่ร่างกายไม่ต้องการให้แก่เนื้อเยื่อบริเวณหน้าอกทั้งสองข้างนั้น อยู่บริเวณใต้รักแร้ เมื่อมีทางเดินน้ำเหลืองซึ่งเต็มไปด้วยของเสียถูกกดทับด้วยความโอบกระชับของการใส่บราต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ของเหลวดังกล่าวจึงคั่งอยู่ในจุด ๆ เดียว ก่อให้เกิดอาการบวมน้ำเหลือง เป็นซีสต์ และเกิดอาการปวดระบม รวมทั้งเป็นบ่อเกิดของเซลล์มะเร็ง เพราะเมื่อมีเสื้อชั้นในมากดทับ น้ำเหลืองซึ่งมีสารอนุมูลอิสระอันมีคุณสมบัติเป็นสารก่อมะเร็ง คั่งค้างอยู่ที่เนื้อเยื่อบริเวณเดียวกันเป็นเวลานาน จึงทำให้เกิดเซลล์มะเร็งขึ้นที่เต้านมได้นั่นเอง

อย่างไรก็ดี ดูเหมือนผลการวิจัยชิ้นนี้จะเป็นเพียงชิ้นเดียวในแวดวงการแพทย์เท่านั้นที่ยืนยันว่าการสวมเสื้อชั้นในติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ เกิน 12 ชั่วโมง จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านมมากขึ้น และยังไม่มีผลการวิจัยอื่น ๆ ที่ยืนยันความเชื่อมโยงเรื่องการใส่บรากับการเป็นมะเร็ง แต่อย่างไรก็ตาม ฟังหูไว้หูเอาไว้ก่อนก็น่าจะเป็นเรื่องดีนะคะ ที่สำคัญการใส่เสื้อชั้นในยามนอนหลับพักผ่อนนี้น่าอึดอัดออกจะตายไป ถ้าอยู่กับบ้านหรือห้องหับที่มิดชิด จะปล่อยให้หน้าอกหน้าใจของเราเป็นอิสระบ้างก็ไม่เห็นเสียหายเนอะ :)

ลดความเสี่ยง..เมื่อต้องฝากท้องไว้กับอาหารริมทาง

Posted: 07 May 2013 05:00 PM PDT

มองข้ามกันไม่ได้เลยนะคะสำหรับอาหารริมทาง หรือที่ฝรั่งเขาให้สมญานามว่า "สตรีท ฟู้ด : Street food" เพราะกลายเป็นจานโปรดของคนส่วนใหญ่ เนื่องจากความรวดเร็ว ง่าย สะดวก อร่อย ราคาสบายกระเป๋า โดยสื่อต่างชาติ อย่าง บีบีซี เคยทำรายงานเกี่ยวกับอาหารริมทางที่ดีที่สุดในกรุงเทพ (The best of Bangkok's Street food) ส่วนซีเอ็นเอ็นก็กล่าวถึงอาหารริมทางในเมืองหลวงของไทยไว้ในเนื้อหาด้านท่องเที่ยวเช่นกัน

แม้อาหารริมทางจะเป็นที่นิยมตามที่กล่าว แต่ก็มีความเสี่ยงต่อสุขภาพมิใช่น้อย เห็นได้จากหลายคนเคยทานอาหารประเภทนี้แล้วท้องเสีย ผู้เขียนคิดว่าเป็นเพราะระบบจัดการควบคุมดูแลที่ไม่สามารถทำได้ 100% ภาครัฐและกทม.ก็ทำหน้าที่ได้แค่ส่งเสริมให้ความรู้ และสุ่มตรวจสอบคุณภาพ ซึ่งอาจไม่ถึง 5% ของร้านอาหารริมทางที่มีทั้งหมด

เมื่อพึ่งพาใครไม่ได้ จึงเป็นหน้าที่ที่เราเองควรระมัดระวัง มาอ่านทริคดีๆ ในการเลือกทานอาหารริมทางให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพน้อยที่สุดกันดีกว่าค่ะ

“ความสะอาดและสุขลักษณะ” ส่วนใหญ่เป็นร้านเล็กๆ ตั้งแต่รถเข็น หาบเร่ แผงลอย ไปจนถึงใช้รถยนต์ดัดแปรงเป็นครัว ซึ่งง่ายมากที่จะสังเกตความสะอาดค่ะ ดังนั้นก่อนซื้อควรสังเกตว่ามีสุขลักษณะโดยภาพรวมดีหรือไม่ ตั้งแต่การจัดวางวัตถุดิบ อุปกรณ์ ผู้เขียนเองเคยไปรอซื้อโจ๊กหมูข้างทาง ขณะรอซื้อก็เห็นตั้งแต่แมลงวันที่เกาะตามถุงขยะเล็กๆ ของร้าน และบินมาเกาะยังชิ้นส่วนของตับและเครื่องในหลังลวก ไปจนถึงมีดคุณแม่ค้าที่ใช้หั่นของสุกและดิบสลับกันโดยที่ไม่ทำความสะอาดแต่อย่างใด ร้านส้มตำที่คนขายไอค๊อกแค๊ก ใช้ทัพพีตักชิมรสแล้วก็นำทัพพีนั้นไปตักส้มตำใส่ถุงอย่างสบายใจ หรือร้านก๋วยเตี๋ยวน้ำตกที่แช่เลือดสด สารพัดผัก และเนื้อสัตว์ในถังน้ำแข็งที่ใช้เป็นน้ำแข็งให้เราทาน

แต่ละร้านที่กล่าวมา ล้วนแล้วแต่มีสภาพนำพาเชื้อจุลินทรีย์ เชื้อไวรัส ที่ก่อให้เกิดโรคเข้าสู่ร่างกายผ่านอาหารที่เราซื้อทานกัน ดังนั้น แนะเลือกร้านริมทางที่มีการจัดการที่ดี แยกการจัดเก็บของอาหารดิบ-สุก วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้มีความสะอาด ภาพรวมดูปลอดภัยจะดีกว่า

“สุขลักษณะของแม่ค้า-พ่อค้า” อีกเรื่องที่ฝากให้สังเกตคือ แม่ค้า-พ่อค้าผู้ปรุงอาหาร ร้านที่เราควรเลือกซื้อนั้น ควรดูแลสุขลักษณะของตนให้ดี เช่น สวมหมวกหรือเน็ทคลุมผม ป้องกันเส้นผมร่วงหล่นลงสู่อาหาร ใส่ผ้ากันเปื้อนที่สะอาด สวมถุงมือถ้าต้องจับหรือสัมผัสกับอาหารที่ปรุงสุกแล้ว หรือหากอาหารบางประเภท ถ้าใส่ถุงมือแล้วไม่ถนัด ก็ควรมีผ้าเช็ดมือหรือน้ำล้างมือที่สะอาดไว้คอยทำความสะอาดมือ รวมถึงงดนิสัยช่างเม้าท์ พูดไปทำไป เพื่อลดความเสี่ยงจากน้ำลายลงสู่อาหาร ลดการนำพาเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค รวมถึงเชื้อโรคต่างๆ ที่มาจากน้ำลายหรือบาดแผลตามผิวหนัง

“ประเภทของอาหาร” ที่ควรเลี่ยงคือ ปิ้ง ย่าง ทอด อาหารเหล่านี้ เสี่ยงทั้งอันตรายจากสารก่อมะเร็งจากความไหม้เกรียม น้ำมันเก่าใช้ทอดซ้ำ และเสี่ยงเรื่องปริมาณไขมันเกินขนาด จนส่งผลต่อโรคอ้วน โรคหัวใจ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด หากอดใจไม่ไหว ให้เลือกที่ไหม้เกรียมน้อยที่สุด อาหารทอดก็สังเกตน้ำมันที่ใช้ทอดก่อนว่ามีสีคล้ำดำหรือไม่ และอย่าทานบ่อย นอกจากนี้ควรเลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ ด้วย

“สีสันและหน้าตาของอาหาร” การไม่มีหน่วยงานมาควบคุมดูแลเรื่องความปลอดภัย จึงเป็นไปได้มากที่พ่อค้า-แม่ค้าบางรายจะมองข้ามและนำสารอันตรายมาใช้กับอาหาร เช่น สีที่ใส่อาหาร แน่ใจได้อย่างไรว่าเป็นสีผสมอาหารที่ปลอดภัย และใช้ในปริมาณเหมาะสม รวมทั้งการใส่สารเคมีที่ทำให้อาหารคงความสด อย่าง ฟอร์มาลีน ลงในอาหารทะเลและผักสด ดินประสิวที่ใช้เป็นสารกันบูดและยังทำให้สีสันของเนื้อสัตว์น่าทาน ขัณฑสกรหรือน้ำตาลเทียมในกลุ่มอาหารที่ต้องใช้น้ำตาลในปริมาณสูง เช่นพวกน้ำหวาน น้ำผลไม้ ดังนั้นเราจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารริมทางที่สีสันสวยเด่นดูผิดธรรมชาติ น้ำหวานน้ำผลไม้ที่ทานแล้วมีรสขมที่ปลายลิ้น

“ผักที่ใช้” หลายร้านใช้ผักในปริมาณมาก แต่ต้องการความรวดเร็ว จึงขาดจิตสำนึกต่อผู้บริโภค ไม่ล้างผักก่อนนำมาใช้หรือปรุงอาหาร ซึ่งเราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ผักส่วนใหญ่มีปริมาณยาฆ่าแมลงและสารเคมีที่ใช้ในการเพาะปลูกปะปนในปริมาณสูง แม้ผักที่ล้างแล้วก็ยังตรวจพบการตกค้างของยาฆ่าแมลงอยู่เลย ดังนั้นถ้าซื้อแล้วได้ผักสดกลับมา ควรนำไปล้างทำความสะอาดก่อนทาน และอีกเรื่องที่ควรสังเกต “ภาชนะบรรจุ” ที่ควรเลี่ยงคือ การใช้ภาชนะโฟม ถุงกระดาษที่มีหมึกพิมพ์มาใส่อาหารร้อนและอาหารที่มีไขมัน เพราะจะทำให้ร่างกายได้รับสารอันตราย อย่างสารโลหะหนักต่างๆ ได้ง่ายๆ

อ่านดูแล้วบางท่านอาจเห็นเป็นเรื่องลำบากว่า จะซื้ออาหารริมทางทั้งที ทำไมต้องยุ่งยาก สังเกตมากมายเพียงนี้ อย่าลืมว่า ร่างกายเรามีต้นทุนสูงนะคะ จะทานอะไรทั้งทีก็ควรเลือกสิ่งดีๆ มีอันตรายน้อยที่สุด สารพิษบางชนิดใช้เวลาสะสมในร่างกายนาน กว่าจะเกิดโรคให้ทราบก็สายเกินแก้ ส่วนใครคิดแค่ว่าทานไปเถอะ ขี้เกียจจะมาเลือก ก็ไม่ว่าอะไรค่ะ เพราะ You are what you eat ทานอะไรก็เป็นแบบนั้น อยากมีสุขภาพดี ต้องรู้จักเลือกที่จะทาน

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์