Tuesday, April 9, 2013

TrueStar Health : Vitamin TrueStar วิตามินอันดับ 1 จากอเมริกา

TrueStar Health : Vitamin TrueStar วิตามินอันดับ 1 จากอเมริกา


ผู้สูงอายุใช้แอสไพริน เสี่ยงเกิดโรคที่ทำให้ตาบอด 2 เท่า

Posted: 09 Apr 2013 01:49 AM PDT

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

นักวิจัยชาวออสเตรเลียเผย การใช้ยาแอสไพรินในผู้ป่วยสูงอายุ เพิ่มความเสี่ยงเกิดโรคที่ทำให้ตาบอดอีกเป็นเท่าตัว ด้านผู้เชี่ยวชาญคนอื่น ๆ ชี้ การค้นพบดังกล่าวยังขาดหลักฐาน สนับสนุนให้เปลี่ยนแนวทางการรักษาคนไข้ได้

เป็นที่ทราบกันดีว่าการใช้ยาต่าง ๆ นั้นอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายได้ อย่างเช่นเรื่องราวที่เว็บไซต์เดลิเมล ของอังกฤษ รายงานว่า ดร. เจอราลด์ ลีว์ จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ในออสเตรเลีย ได้ออกมาเผยว่าการใช้ยาแอสไพรินในกลุ่มผู้สูงอายุนั้น จะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคตาซึ่งนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นเป็นอีกเท่าตัว

โดยจากการศึกษาล่าสุดได้พบว่า มีความเชื่อมโยงระหว่างการใช้ยาแอสไพรินกับโรคจอประสาทตาเสื่อม (Age related macular degeneration : AMD) ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยสุดของการสูญเสียการมองเห็นในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม การค้นพบดังกล่าวยังขาดหลักฐานที่เพียงพอมาสนับสนุนการแนะนำให้ผู้ป่วยหยุดใช้ยาแอสไพรินในการรักษา เว้นแต่ผู้ป่วยจะมีปัจจัยเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก (Wet AMD) หรือในผู้ที่อาจจะเกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่สูงขึ้นจากการใช้ยาแอสไพรินรักษาในระยะยาว

ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญของสหรัฐฯ อย่าง ดร.แซนเจย์ คอล และ ดร.จอร์จ ไดมอนด์ จากศูนย์การแพทย์ซีดาร์สไซไน แห่งลอสแอนเจลิส ได้แสดงความคิดเห็นว่า ยังต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมก่อนที่ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำให้เปลี่ยนแนวทางการรักษา เพราะจากมุมมองของนักวิทยาศาสตร์ซึ่งวิจัยยาเพียงอย่างเดียวนั้น ยังขาดหลักฐานที่หนักแน่นพอที่จะเปลี่ยนแปลงการรักษาในชั้นคลินิก

ด้านศาสตราจารย์ ยิท หยาง จากราชวิทยาลัยจักษุแพทย์ ได้กล่าวว่า “การวิจัยนี้บอกว่าผู้ป่วยที่มีแนวโน้มจะพัฒนาไปสู่การเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียกนั้นส่วนมากจะเป็นผู้ป่วยที่ใช้ยาแอสไพรินจากปัญหาด้านสุขภาพอื่น ๆ ซึ่งในกลุ่มผู้ที่ใช้และไม่ใช้แอสไพรินนั้นมีความแตกต่างกันในแง่ของความเสี่ยงอื่น ๆ ที่จะทำให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมเปียก เช่น ความดันโลหิต สุขภาพหัวใจและหลอดเลือด หรือแม้กระทั่งประวัติครอบครัว”

นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ยิท หยาง ยังเสริมอีกว่า นี่เป็นสัญญาณเล็ก ๆ ที่ชี้ว่าอาจจะมีความเชื่อมโยงที่เป็นสาเหตุโดยตรงของโรค แต่มันเป็นไปไม่ได้ที่จะยืนยันเรื่องนี้ในปัจจุบัน แม้ว่ามันเป็นสิ่งสำคัญที่จะละเลยไปไม่ได้สำหรับสัญญาณที่บ่งชี้ว่าจะเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายจากการใช้ยาก็ตาม เพราะในขณะนี้มันยังไม่มีหลักฐานที่เพียงพอจากการศึกษาวิจัยที่จะแสดงให้เห็นว่าควรแนะนำผู้ป่วยให้หยุดการใช้ยาแอสไพริน

ทั้งนี้ โรคจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก(Wet AMD) มีสาเหตุมาจากจากรั่วซึมของเลือดและของเหลวจากเส้นเลือดภายในดวงตา ทำให้เกิดความผิดปกติที่จุดกลางรับภาพของจอประสาทตา ซึ่งจะนำไปสูการสูญเสียการมองเห็น ส่วนโรคจอประสาทตาเสื่อมแบบแห้ง (Dry AMD) นั้นจะพบได้มากกว่าและมีผลรุนแรงน้อยกว่า แต่ผู้ป่วยก็ยังคงต้องทรมานกับความบกพร่องด้านการมองเห็น ปัจจุบันพบว่ามีชาวอังกฤษราว 200,000 คนต่อปี ที่ต้องทรมานด้วยโรคจอประสาทตาเสื่อมที่ไม่สามารถทำการรักษาหรือป้องกันล่วงหน้าได้ แม้ว่าการผ่าตัดด้วยเลเซอร์และยาจะสามารถควบคุมความเสียหายที่เกิดจากโรคได้ก็ตาม

จากรายงานของนิตยสารด้านการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ได้มีการเทียบอัตราของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก ในผู้ป่วยมากกว่า 2,000 ราย จากกลุ่มผู้ที่ใช้ยาแอสไพรินทั้งแบบปกติและไม่ปกติ ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา โดยกลุ่มผู้ที่ใช้ยาปกตินั้นจะถูกกำหนดให้ที่ใช้ยาแอสไพรินเพียงอาทิตย์ละ 1 ครั้ง หรือมากกว่านั้น ซึ่งพบว่าในกลุ่มผู้ใช้ยาไม่ปกติ จะมีอัตราการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียกเพิ่มขึ้น จาก 0.8% ใน 5 ปี เป็น 1.6% ใน 10 ปี และกระโดดขึ้นไปเป็น 3.7% ใน 15 ปี

อย่างไรก็ตาม ในทุกวันนี้มีผู้ป่วยโรคหัวใจนับล้าน ที่ใช้ยาแอสไพรินในปริมาณต่ำทุกวันตามใบสั่งแพทย์ เพื่อป้องกันโรคหัวใจวายและโรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน ขณะที่คนอื่น ๆ ซึ่งยังไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น จะนิยมใช้ยาแอสไพริน เพื่อเป็นหลักประกันสุขภาพของพวกเขาเอง

เตือนระวัง…ครีมเทียม กินมาก อันตรายกว่าที่คิด!

Posted: 08 Apr 2013 10:58 PM PDT

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

สำหรับใครหลาย ๆ คน “กาแฟ” อาจเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่จะต้องดื่มทุกวัน วันละหลาย ๆ แก้ว ดื่มแล้วหูตาสว่าง สดชื่น กระปรี้กระเปร่า ซึ่งรสชาติที่แต่ละคนชื่นชอบก็จะแตกต่างกันออกไป บ้างก็ชอบใส่น้ำตาลให้หวาน ๆ บ้างก็ชอบใส่ครีมเทียม เพิ่มความเข้มข้น หอม มัน แล้วเพื่อน ๆ ทราบหรือไม่ว่า ครีมเทียมนั้นมีอันตรายต่อร่างกายมากกว่าที่คุณคิด!

ครีมเทียมเป็นไขมันชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่า ไขมันทรานส์ (trans fat) ซึ่งได้จากการนำไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันถั่วเหลืองมาอัดไฮโดรเจนเข้าไปเพื่อทำให้มันแข็งเป็นไข จะได้ทำเป็นผงได้ แล้วเอามาทำอาหารอุตสาหกรรม เช่น เค้ก คุกกี้ ขนมกรุบกรอบ ครีมเทียม เนยเทียม บางทีคนจึงเรียกง่าย ๆ ว่า ไขมันผง หรือไขมันแข็ง (solid fat)

ส่วนครีมเทียมที่มีจำหน่ายประมาณครึ่งหนึ่งเป็นน้ำตาล อีกครึ่งหนึ่งเป็นไขมันเติมไฮโดรเจนไปบางส่วน ทำให้ไขมันบางส่วนแปรไปเป็นไขมันทรานส์ ดังนั้น การบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันทรานส์มาก ๆ จะเป็นการเพิ่มระดับ LDL (Low Density Lipoprotein) ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดเลวในเลือด และลดระดับ HDL (High Density Lipoprotein) ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดดีในเลือด และเนื่องจากไขมันทรานส์เป็นไขมันที่เกิดจากการแปรรูป ซึ่งย่อยสลายได้ยากกว่าไขมันชนิดอื่น ทำให้ตับต้องสลายไขมันทรานส์ด้วยวิธีการที่แตกต่างไปจากการย่อยสลายไขมันตัวอื่น จึงอาจก่อให้เกิดสภาวะที่ผิดปกติกับร่างกาย คือ
1. น้ำหนักและไขมันส่วนเกินเพิ่มมากขึ้น
2. มีภาวะการทำงานของตับที่ผิดปกติ
3. มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด

นอกจากนี้ พิษภัยของไขมันทรานส์ได้รับการพิสูจน์โดยงานวิจัยของฮาร์วาร์ดซึ่งติดตามผลสำรวจของประชาชนราวแปดหมื่นกว่าคนเป็นเวลานานถึง 12 ปี โดยจำแนกออกเป็นกลุ่ม ๆ ตามชนิดของที่มาของพลังงานที่ได้เพิ่มเข้ามาระหว่างการวิจัย แล้วเปรียบเทียบกันว่าการบริโภคแหล่งพลังงานแบบไหนจะเป็นโรคหัวใจหลอดเลือดมากกว่ากันโดยใช้กลุ่มที่ได้พลังงานเพิ่มมาจากคาร์โบไฮเดรตเป็นตัวตั้ง

งานวิจัยนี้พบว่า พวกที่ได้พลังงานจากไขมันทรานส์ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าพวกที่ได้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรตถึง 93% ส่วนพวกที่ได้พลังงานจากไขมันอิ่มตัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าพวกที่ได้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต 17% และพวกที่ได้พลังงานเพิ่มมาจากไขมันไม่อิ่มตัวนั้นเป็นโรคน้อยกว่าพวกที่ได้พลังงานเพิ่มจากคาร์โบไฮเดรต งานวิจัยนี้เป็นหลักฐานยืนยันว่าไขมันทรานส์ชั่วร้ายที่สุด ร้ายกว่าไขมันอิ่มตัวเช่นน้ำมันหมูตั้งเยอะ

สมัยนี้ดูเหมือนว่า ไม่ว่าจะทานอะไรก็อันตรายไปเสียหมด เห็นทีเพื่อน ๆ คงต้องรู้จักระมัดระวังในการเลือกรับประทานสิ่งต่าง ๆ และหันมาดูแลสุขภาพกันให้มากขึ้นนะคะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

visitdrsant.blogspot.com , th.answers.yahoo.com

No comments:

Post a Comment